มีพุทธพจน์ตรัสไว้เลยทีเดียวว่า อายุ วรรณะ สุขะ พละ ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นด้วยการอ้อนวอนหรือความปรารถนาเท่านั้น ก็หาไม่ ท่านทั้งหลายที่ปรารถนาสิ่ง เหล่านี้จะต้องปฏิบัติสิ่งที่เป็นเหตุปัจจัย ที่จะให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นเอง
ที่พูดมาข้างต้นนั้นก็คือ การที่เรากำลังจะทำเหตุปัจจัยให้พรเหล่านี้เกิดขึ้น
พรคืออะไร เราพูดกันบ่อย ๆ ว่า จตุรพิธพรชัย คือ พร ๔ ประการ ได้แก่ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
อายุคืออะไร คำว่าอายุก็ยุ่งอีกแล้ว ถ้าจะพูดกันเรื่องถ้อยคำก็จะเสียเวลามาก คำว่า พร ก็เป็นปัญหา คำว่าอายุก็เป็นปัญหา
ต่อไปจะขออธิบายความหมายของคำว่า พร สักหน่อย คำว่า “ พร ” นั้น ที่จริงในภาษาพระ แปลว่า ผลประโยชน์หรือสิทธิพิเศษที่ให้ตามคำขอ
ขอยกตัวอย่างเช่น ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระเจ้าแผ่นดินมีอำนาจสูงสุด ชี้ตายชี้เป็นได้ ปุโรหิตคนหนึ่ง เป็นผู้ใกล้ชิดพระราชา มีลูกเป็นคนที่พูดไม่ดี ซึ่งต่อไปลูกนั้นจะต้องใกล้ชิดพระราชา และตัวปุโรหิตเองก็แก่จะตายอยู่แล้ว จึงคิดว่าต่อไปเมื่อตนเองสิ้นชีวิตไปแล้ว ถ้าลูกพูดอะไรผิดพลาดไป พระราชาอาจจะสั่งตัดศีรษะ
เมื่อคิดอย่างนี้แล้ว ท่านปุโรหิตก็เลยขอพรจากพระราชาว่า “ ลูกของข้าพระองค์นี้เป็นผู้ที่มีวาจาไม่ดี ฉะนั้นถ้าหากว่าเขาพูดอะไรผิดพลาดไป ขอพระองค์ได้โปรดยกโทษให้ ไม่เอาโทษ ”
การขอสิทธิพิเศษอย่างนี้เรียกว่าขอพร และเมื่อพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้ โดยตรัสว่า “ตกลง ” เรายอมให้ อย่างนี้เรียกว่า ให้พร
เป็นอันว่า พร ก็หมายถึงสิ่งที่เป็นผลประโยชน์หรือสิทธิพิเศษที่ให้ตามที่ขอ เขาขอแล้วให้ก็เรียกว่า ให้พร อย่างเช่น พระนางผุสดีขอพร ๑๐ ประการจากพระอินทร์ก็หมายความว่าตัวเองต้องการอะไรก็ขอไป แล้วเขาให้ ก็เรียกว่า ให้พร นี้เป็นความหมายเดิมแท้ของมัน
คราวนี้มีอีกความหมายหนึ่ง คือ “ พร ” แปลว่าประเสริฐ อะไรก็ตามที่เป็นของประเสริฐ เช่น พระรัตนตรัย ก็เป็น พร คือเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ปัญญาก็เป็น พร คือเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นพรทั้งนั้น
พรก็คือสิ่งที่ประเสริฐ พระรัตนตรัยก็เป็นพร ปัญญาก็เป็นพร สติก็เป็นพร สมาธิก็เป็นพร คือเป็นสิ่งที่ดีงามประเสริฐ
ที่ว่ามานี้ เป็นความหมายเดิมของท่าน แต่ในเมืองไทย คำว่า พร เราใช้ในความหมายว่าอย่างไร คนไทยใช้คำว่าพรในความหมายว่า สิ่งที่เราปรารถนา สิ่งดีงามที่อยากจะได้ นี่คือเพี้ยนไปแล้ว
ในที่นี้ เราจะมาประยุกต์ความหมายเสียใหม่ว่า พร คือ สิ่งที่เราปรารถนา พร้อมทั้งเป็นสิ่งที่ดีงามประเสริฐด้วย กล่าวคือ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าล้ำเลิศ
สิ่งที่มีคุณค่าล้ำเลิศที่เราปรารถนานั้นก็มีหลายอย่าง แต่ในที่นี้เราจะมองตามถ้อยคำที่คุ้น ๆ กันอยู่แล้ว เช่น อายุ วรรณะ สุขะ พละ เป็นต้น
ถ้าอธิษฐานเป็น จะเอาพร ๔ หรือพร ๕ ก็ได้
ที่นี้ก็จะอธิบายความหมายของคำว่า อายุ วรรณะ สุขะ พละ
“ อายุ ” คืออะไร อายุในภาษาไทยมีความหมายที่ค่อนไปในทางลบมากกว่าในทางบวก กล่าวคือในภาษาไทยนั้น ถ้าพูดว่าคนมีอายุมากก็มีความหมายไม่ดี คือแก่จะแย่แล้ว แต่ถ้าอายุน้อยกลับดี แสดงว่ายังเด็ก ยังหนุ่มยังสาว
ส่วนในภาษาพระนั้น อายุมากยิ่งดี อายุน้อยไม่ดี อายุน้อยก็คือพลังจวนหมด จะแย่แล้ว
ในภาษาพระนั้น อายุคืออะไร อายุคือพลังที่หล่อเลี้ยงชีวิต ฉะนั้นท่านจึงให้พรอย่างหนึ่งว่าอายุ
ถ้าอายุเป็นของไม่ดีแล้ว พระจะมาให้พรว่า ให้คุณมีอายุมาก อย่างนี้ก็แย่ เราก็คงต้องบ่นว่า ทำไมพระจะให้เราแก่เสียล่ะ แต่ที่จริงไม่ใช่อย่างนั้น ที่บอกว่าให้มีอายุนั้น หมายถึงให้เรามีพลังหล่อเลี้ยงชีวิตมาก ๆ ใครมีพลังหล่อเลี้ยงชีวิตมาก คนนั้นก็จะมีชีวิตมั่นคงเข้มแข็ง อยู่ได้ยืนยาว
“ วรรณะ ” ก็คือ ผิวพรรณที่ผ่องใส มีสง่าราศี
“ สุขะ ” ก็คือความสุข ความคล่อง ความปราศจากสิ่งบีบคั้นติดขัดคับข้อง
“ พละ ” ก็คือ กำลัง ความเข้มแข็ง มีเรี่ยวแรง รวมทั้งมีสุขภาพดี
นอกจาก ๔ ข้อนี้แล้ว ท่านยังมีอีกอย่างหนึ่ง ที่เราไม่ค่อยได้ยิน จึงรวมเป็นพร ๕ ประการ คือมี“ โภคะ ” เติมเข้าอีกตัวหนึ่ง
พร ๔ ประการ เราได้ยินบ่อย คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ เรียกว่า จตุรพิธพร
แต่พร ๕ ท่านมีเพิ่มอีกอย่างหนึ่งเป็น อายุ วรรณะ สุขะ โภคะ พละ ได้แก่เติมโภคะ คือทรัพย์สมบัติเข้ามาอีกอย่างหนึ่ง รวมเป็น ๕ อย่าง ถ้าเรียกเป็นคำพระก็เป็น เบญจพิธพร
ทีนี้ท่านบอกว่า สิ่งเหล่านี้มิใช่จะได้มาด้วยการอ้อนวอนปรารถนา การที่เราให้พรกันนี้ ก็คือ เรามาแสดงความปรารถนาดีต่อกัน เรามาตั้งจิตปรารถนาประโยชน์สุขแก่กัน และด้วยพลังจิตที่ปรารถนาดีนี้ ก็จะเกิดคุณธรรมความดีงามขึ้นมาในใจของผู้ให้ ซึ่งมีผลต่อจิตใจของเขา
ในเวลาเดียวกัน ทางฝ่ายผู้รับก็พลอยมีจิตใจบันเทิงเอิบอิ่มชื่นบาน คือ ซาบซึ้งในน้ำใจเมตตาหรือไมตรีของผู้ให้นั้นเอง อันนี้แหละก็เกิดเป็นความสุขและความมีไมตรีจิตตอบแทนขึ้นในใจของเขา ก็เลยกลายเป็นมีคุณธรรมเกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย
ทีนี้ ถ้ามีความเชื่อมั่นจริง ๆ และเกิดกำลังใจแรงกล้า ก็จะมีความเป็นไปที่เกิดขึ้นโดยกลไกทางจิต ซึ่งเป็นเรื่องของอำนาจจิตหรือพลังของจิตนั้นเอง ไม่ใช่ว่าใครมาดลบันดาลให้หรอก ถ้าเราทำถูกต้อง เราปฏิบัติถูกต้องแล้ว ผลดีก็เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย
แต่สำหรับผู้คนที่ไม่ศึกษาเล่าเรียน ก็นึกว่าเป็นอำนาจภายนอกบันดาล ส่วนคนที่ได้ศึกษาแล้วก็จะรู้ว่าที่จริงเป็นกลไกของจิตนั่นเอง ถ้าเราเชื่อมั่นจริง ๆ แล้ว มันก็มีกำลัง มีพลังอำนาจมาก ฉะนั้นเราจึงควรปฏิบัติให้ถูกต้องต่อสิ่งเหล่านี้
ถ้าท่านต้องการได้พรเหล่านี้ ก็ต้องทำจิตใจให้ถูกต้อง โดยเฉพาะจะต้องมีความเชื่อมั่น ทำจิตใจให้สงบผ่องใส พร้อมทั้งมีความมั่นใจ มีกำลังใจเข้มแข็งที่จะทำสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น ซึ่งตรงกับที่ทางพระเรียกว่า อธิษฐานจิต การอธิษฐานจิตนั้น ท่านแปลว่าการตั้งจิตให้แน่วแน่มั่นคง หรือการตั้งใจเด็ดเดี่ยว แต่ในภาษาไทย อธิษฐาน มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นว่า อ้อนวอนปรารถนา ในภาษาพระ อธิษฐานแปลว่า ตั้งมั่น ทำใจเด็ดเดี่ยว คือตั้งจิตเด็ดเดี่ยว
ที่ว่า ตั้งจิตมั่นคือ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว หมายความว่า ตั้งใจมุ่งว่าจะทำเรื่องนั้น ๆ หรือความดีงามนั้นให้สำเร็จให้ได้ เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงอธิษฐานพระทัยว่าจะเพียรพยายามปฏิบัติให้บรรลุโพธิญาณ ถึงพระโลหิตจะเหือดแห้งไป ถ้ายังไม่สำเร็จก็จะไม่ยอมหยุดเลิกเสีย
พูดง่าย ๆ ว่า “ อธิษฐานเพื่อจะทำ ”
แต่คนไทยเราเอามาใช้ ไป ๆ มา ๆ กลายเป็น “ อธิษฐานเพื่อจะได้ ” โดยเฉพาะขอให้ได้โดยตัวเองไม่ต้องทำ คือจะให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลให้
เพราะฉะนั้น ควรปรับความเข้าใจให้ถูกต้อง จำง่าย ๆ ว่า “ อธิษฐานเพื่อจะทำ ” ไม่ใช่ “อธิษฐานเพื่อจะเอา หรือ อธิษฐานเพื่อจะได้ ”
ใครที่จะทำอะไรอย่างเอาจริงเอาจัง มุ่งมั่นที่จะให้สำเร็จ ควรจะอธิษฐานจิต คือตั้งใจเด็ดเดี่ยวแต่เริ่มต้นว่า เราต้องทำสิ่งนั้นให้สำเร็จให้จงได้ ให้ถึงจุดหมายอย่างแน่นอน
การอธิษฐานจิต คือการ start เครื่อง ซึ่งทำให้มีพลังที่จะทำต่อไปอย่างจริงจัง เมื่อเริ่มต้นดีก็อย่างที่พูดกันว่าสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว อะไรทำนองนี้ การเริ่มต้นที่ดีก็คือ การตั้งใจให้แน่วแน่มั่นคงเข้มแข็ง
ตกลงว่า เราต้องการพรเหล่านี้ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ หรือจะเติมโภคะเข้ามาอีกอย่างหนึ่งก็ได้ ในการให้พรกันนั้น องค์ประกอบที่สำคัญ ก็คือ
๑. เรามีจิตปรารถนาดีต่อกัน
๒. ผู้ให้ตั้งจิตที่ประกอบด้วยเมตตาหรือไมตรี ตั้งจิตปรารถนาดีด้วยใจจริง ส่วนทางฝ่ายผู้รับ ก็ตั้งจิตให้
ซาบซึ้งในความปรารถนาดีของผู้ให้ พร้อมทั้งทำใจให้น้อมรับพรนั้น
เคล็ดลับของการมีอายุยืน
แต่เท่านี้ท่านว่ายังไม่พอ ความหมายในทางธรรมมีลึกซึ้งกว่านั้น
ตามความหมายในทางธรรม อายุคืออะไร อายุนี้ท่านอธิบายสำหรับพระก่อน แต่ก็ใช้สำหรับฆราวาสได้ด้วย อายุคือ อิทธิบาท ๔
ขออธิบายสั้น ๆ อิทธิบาท ๔ เป็นตัวอายุ ถ้าใครทำตามก็จะมีอายุได้จริงๆ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าพระองค์ปรารถนาจะอยู่ตลอดกัปก็อยู่ได้ โดยเจริญอิทธิบาท ๔ นี้
คำว่ากัปในที่นี้ หมายถึง อายุกัป คือกำหนดอายุของมนุษย์ หมายถึงอายุ ๑๐๐ ปี พระพุทธเจ้าอยู่แค่ ๘๐ ปี แต่พระองค์ตรัสว่า ถ้าพระองค์ต้องการจะอยู่ถึง ๑๐๐ ปี ก็อยู่ได้ โดยเจริญอิทธิบาท
คนอื่นก็เหมือนกัน ถ้าต้องการให้อายุยืนถึงกัป ก็ให้เจริญอิทธิบาท ๔
อิทธิบาท ๔ เป็นตัวอายุ ซึ่งทำให้ชีวิตยืนอยู่ได้ เป็นพลังหล่อเลี้ยงชีวิต ให้ยืนยาว
อิทธิบาทมี ๔ ประการ คืออะไรบ้าง
ขอพูดถึงชีวิตของคนในสภาพแวดล้อมปัจจุบันก่อน คนไม่น้อย พอเกษียณแล้ว ทั้ง ๆ ที่ก่อนเกษียณก็แข็งแรงดี สุขภาพดี ปราดเปรียว กระฉับกระเฉง แต่พอเกษียณไปไม่ช้าเลยก็เฉา แล้วไป ๆ ไม่ช้าก็อายุหมด คือสิ้นชีวิต ให้ลองสังเกตดู นี่เป็นเพราะอะไร
อีกคนหนึ่งเป็นคนขี้โรค น่าจะย่ำแย่อายุสั้น แต่กลับอยู่ได้ทนนาน เจ็บ ๆ หาย ๆ ไม่ตายสักที อะไรที่เป็นกลไกสำคัญในเรื่องนี้ สิ่งหนึ่งก็คือ อิทธิบาท ๔ นี้แหละ
อิทธิบาทเริ่มด้วย ฉันทะ คือมีสิ่งดีงามที่ใจใฝ่รักต้องการจะทำ ถ้าใครอยากอายุยืน ต้องมีจิตใจผูกอยู่กับการกระทำอะไรสักอย่างที่ดีงาม ใจคอยบอกตัวเองอยู่ว่า ฉันต้องการทำสิ่งนี้ให้ได้ หรือมีสิ่งดีที่ต้องการจะทำ แล้วใจรักที่จะทำ ตั้งขึ้นมาก่อน อย่างนี้เรียกว่ามีฉันทะ แล้วทำสิ่งนั้นจนไม่มีช่องว่าง ไม่เปิดช่องให้แก่ความห่วง ความกังวล ความกลุ้มใจอะไรเลย ถ้าทำได้อย่างนี้ยิ่งดี
คนที่เขายุ่งอยู่กับงาน และงานนั้นเขาพอใจรัก เขาเห็นว่าดีงาม มีคุณค่า และทำจนกระทั่งไม่ห่วงกังวลอะไร ในใจไม่มีช่องให้แก่เรื่องยุ่งวุ่นวายรำคาญใจ มีฉันทะนี้เป็นตัวแรก จะเป็นเคล็ดลับที่ทำให้อายุยืน
แม้แต่คนป่วยก็ให้ใช้หลักนี้ คือให้ตั้งอะไรไว้สักอย่างที่เป็นสิ่งดีงามซึ่งใจอยากจะทำ ใจรักจะทำ นี้คือฉันทะ ต้องตั้งฉันทะนี้ไว้ในใจอย่างหนึ่ง
โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ที่เกษียณแล้ว ที่อยู่ไม่ได้ยาวนาน ก็มักเป็นเพราะมีความเหี่ยวเฉา มีความรู้สึกว่างเปล่าไร้ค่า ไม่มีอะไรจะทำ ชีวิตเหงาหงอย เปิดช่องปล่อยให้เรื่องจุกจิกรบกวนใจเข้ามาบั่นทอนพลังชีวิต คืออายุของตน
เพราะฉะนั้น พอเกษียณแล้ว ต้องตั้งใจไว้สักอย่างที่จะทำ หรือให้ชีวิตอยู่กับสิ่งที่งดงามที่ตนเห็นคุณค่าเป็นประโยชน์ แล้วใจมุ่งไปทำสิ่งนั้น อาจจะเป็นการทำสวนหรืองานอดิเรกอะไรสักอย่าง หรือการศึกษาธรรมก็ได้ ตอนนี้แหละ ชีวิตก็จะมีพลังขึ้นมาทันที พลังนี้แหละคือตัวอายุ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเกิดจากฉันทะ และตอนนี้ฉันทะก็เกิดขึ้นมาแล้ว พอฉันทะเกิด ต่อไปก็ถึง วิริยะคือความมีกำลังใจเข้มแข็ง แกล้วกล้า ใจสู้ กล้าเผชิญความยากลำบากและอุปสรรค เห็นว่าสิ่งนั้น ๆ ท้าทาย พยายามจะทำ เพียรพยายามที่จะเอาชนะ ทำให้สำเร็จให้ได้ มีความกล้าหาญที่จะทำ
ต่อไป คือข้อ จิตตะ หมายถึงการอุทิศตัวอุทิศใจให้กับสิ่งนั้น ใจมุ่งจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้น
เมื่อใจจดจ่อ มุ่งอยู่กับเรื่องที่ทำ ใจก็ไม่เก็บเรื่องจุก ๆ จิก ๆ ที่ขัดหูขัดตา กระทบใจ หรือผ่านเข้ามา เดี๋ยวเดียวก็ลืม เพราะใจอยู่กับเรื่องที่คิดจะทำนั้น ก็ไม่มีเรื่องรบกวนรำคาญใจ ทำให้สงบมั่น แม้แต่ถึงขึ้นเป็นสมาธิก็ได้
สุดท้ายก็มาถึง วิมังสา คือคอยใช้ความคิดพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนั้นอยู่ตลอดเวลา หมั่นทบทวนตรวจสอบและทดลองค้นคว้าหาวิธีการต่าง ๆ ให้รู้ว่า ทำอย่างนั้นอย่างนี้แล้ว เป็นอย่างไร มีอะไรที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข และจะปรับปรุงแก้ไขได้อย่างไร วุ่นอยู่กับเรื่องที่ทำนั้น และใจก็สนุกกับสิ่งที่ทำ มีความร่าเริงเบิกบานแจ่มใส ตกลงว่าเวลาผ่านไป ก็อยู่ได้เรื่อย
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าอิทธิบาท ๔ นี้เป็นตัวอายุ ท่านบอกว่า ผู้ที่ปรารถนาอายุ ไม่พึงพอใจอยู่กับการอ้อนวอนปรารถนาให้มีอายุ ซึ่งไม่ทำให้สำเร็จได้แท้จริง แต่ต้องทำตามข้อปฏิบัติที่จะให้อายุนั้นสำเร็จ และข้อปฏิบัตินั้นก็คือ อิทธิบาท ๔ นี้คือเคล็ดลับ พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ให้แล้ว ถ้าใครต้องการอายุยืน ก็ตั้งฉันทะขึ้นมาเลย จนครบอิทธิบาททั้ง ๔
ถ้าคนไข้ท้อแท้ ก็ต้องให้เขาหาสิ่งที่ดีสักอย่างที่จะทำแล้วตั้งใจ ให้ใจไปอยู่กับสิ่งนั้น ตั้งเป็นเป้าไว้
ได้อะไรจึงจะคุ้มค่ากับเวลาที่ผ่านไป
พรข้อต่อไป “ วรรณะ ” คืออะไร สำหรับพระท่านว่าคือ ศีล การที่พระมีความประพฤติดีงาม มีความสำรวม มีปฏิปทาบริสุทธิ์ผุดผ่อง นั่นคือความงามหรือวรรณะของพระรูปนั้น
สำหรับคนทั่วไปก็เหมือนกัน ความสุจริต การมีชีวิตที่ดีงาม ความเป็นผู้บริสุทธิ์ในการดำเนินชีวิต ความบริสุทธิ์สุจริต นี่เป็นความงามของบุคคลนั้น ๆ
ต่อไป พรที่ ๓ คือ “ สุขะ ” ความสุข ความสุขนี้มี ๒ แบบ ได้แก่ ความสุขที่มีอยู่กับตัว กับความสุขที่หวังข้างหน้า
ปุถุชนคนทั่วไป มักจะมีความสุขที่หวังข้างหน้าเป็นส่วนมาก ไม่ค่อยมีความสุขที่อยู่กับตัวในปัจจุบัน ทางพระท่านต้องการให้เรามีความสุขอยู่กับตัวเป็นปัจจุบันในขณะนี้เลย ทำอย่างไรเราจะมีความสุขอยู่กับตัวในบัดนี้
คนที่เจริญจิตตภาวนาได้ฌาน เป็นตัวอย่างหนึ่งของผู้ที่มีความสุขในปัจจุบันทันที สำหรับคนเราทั่วไป ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถทำจิตใจได้ถึงขนาดนั้น แต่เราก็สามารถทำใจของเราในแต่ละวันให้มีความสุขได้ตลอดเวลา หรือให้มากที่สุดเท่าที่จะมีสติช่วยได้ คือมีความสุขด้วยการทำจิตใจให้เบิกบาน ร่าเริงผ่องใส ให้ยิ้มได้
ทีนี้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ที่จะปฏิบัติได้ในเวลาแต่ละวัน ขอให้นึกถึงคติตามพุทธภาษิตที่อาตมายกมาให้ฟังข้างต้นแล้วว่า “ เวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่า ไม่มากก็น้อย ต้องให้ได้อะไรบ้าง”
สิ่งหนึ่งที่ควรจะได้เป็นอย่างน้อยคือ การได้ทางจิตใจ ซึ่งตรงกับที่กำลังพูดกันอยู่นี้ ได้แก่ การได้ความร่าเริง ความอิ่มใจ และความเบิกบานผ่องใส
วันหนึ่ง ๆ ควรพิจารณาว่า วันนี้เรายิ้มได้บ้างหรือเปล่า ตลอดวันนี้เรามียิ้มได้บ้างไหม ถ้าพิจารณาตลอดวันแล้วยังไม่ได้ยิ้ม ต้องรีบไปยิ้มเสีย หาคนมารับยิ้มให้ได้สักครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะนอนหลับสิ้นวันไป ถ้าใจยังไม่เบิกบาน ไม่ปราโมทย์ ไม่ปลื้มปีติ สักครั้งต้องทำให้ได้
พระพุทธองค์ตรัสว่า ใจประกอบด้วยเมตตา แม้ชั่วขณะลัดนิ้วหรือดีดนิ้วเปาะเดียว ก็เป็นบุญกุศลใหญ่หลวงแล้ว ฉะนั้นเวลาในแต่ละวันนี้ อย่าปล่อยไปกับความเครียด ความทุกข์ ความเศร้า ความหงอยเหงา ความเบื่อหน่าย หรือความเร่าร้อน กระวนกระวาย แต่ต้องให้ได้ความสุข ความชื่นบาน ความโปร่งโล่งเบาสบาย หรือสภาพจิตที่ดีอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง
อย่างน้อยพิจารณาตรวจสอบตัวเองก่อนที่จะผ่านวันนั้นไปเสีย อย่าไปคิดแต่จะได้ทางกาย หรือทางเศรษฐกิจอย่างเดียว ทางจิตใจต้องพิจารณาว่าเราได้บ้างไหม
คนเราทั่ว ๆ ไป เมื่อฟังพระสอนว่า “ เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปเปล่า ไม่มากก็น้อยต้องให้ได้อะไรบ้าง ” ก็มักจะนึกถึงการได้เงินได้ทองหรือได้สิ่งของต่าง ๆ ว่าวันนี้เราได้เงินบ้างหรือไม่ ได้มากหรือน้อย เท่านั้นเท่านี้ หรือได้ผลประโยชน์ต่าง ๆ
ที่ดีขึ้นมาหน่อยก็นึกถึงการได้งานว่าทำงานไปได้เท่านั้นเท่านี้ งานก้าวหน้าสำเร็จลุล่วงไปได้แค่ไหน ตลอดจนนึกถึงการได้ทำความดีงามหรือบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่สังคม ซึ่งทั้งหมดนี้ก็รวมอยู่ในการตรวจสอบตามหลักธรรมนี้ด้วย
แต่สิ่งที่ใกล้ตัวที่สุด ซึ่งคนทั้งหลายมักมองข้ามไป ก็คือการได้ทางจิตใจ อย่างที่ว่ามาแล้ว ซึ่งอย่างน้อยก็ควรให้ได้สภาพจิตที่ดีงามมีความสุข ที่ท่านเรียกว่า
ปราโมทย์ คือความร่าเริงเบิกบานใจ
ปีติ คือความอิ่มใจ ปลื้มเปรม ฟูใจ
ปัสสัทธิ คือความผ่อนคลายไร้เครียด เย็นใจ
สุข คือความคล่องใจ โปร่งเบา สบายใจ
สมาธิ คือความมีใจสงบ มั่นคงอยู่กับสิ่งที่คิดที่ทำ
ความสุขที่แท้จริงนั้นอยู่ในใจ คุณสมบัติ ๕ อย่างนี้ เอามาพิจารณาว่า วันหนึ่งเราจะต้องทำให้ได้บ้างไม่มากก็น้อย ให้ได้ปีติ ปราโมทย์ ความอิ่มใจ เบิกบานใจ ผ่องใส สงบใจบ้าง
คนเราที่หาเงินหาทอง ผลประโยชน์ หรือลาภผลต่าง ๆ นั้น ก็เพื่อให้ได้ความสุข แต่บางทีมุ่งแต่หาสิ่งเหล่านั้น หาไป ๆ กลับมีแต่ความทุกข์ ความเร่าร้อน กลัดกลุ้มกังวลใจ หาความสุขแทบไม่ได้เลย แล้วก็ลืมนึกถึงความสุขทางจิตใจที่ตนควรจะได้ด้วย
คนที่หาเงินหาทองได้มาก แต่ไม่ได้ความสุขในจิตใจเลย อย่างนี้ต้องเรียกว่าเป็นคนเสียหลัก ดำเนินชีวิตผิด เงินทองและลาภผลที่หามาได้ มีความหมายน้อย ไม่ให้สาระอะไรแก่ชีวิต
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะได้อะไร เท่าไรก็ตาม ก็อย่าลืมให้ได้สภาพจิตใจที่ดีงาม ๕ อย่างที่กล่าวมานี้
ทรัพย์แท้คือทรัพย์ภายใน พลังแท้คือความเป็นไท
พรอีกข้อหนึ่งคือ “ โภคะ ” ที่เพิ่มเข้ามา ทำให้พร ๔ เป็น พร ๕ ซึ่งแทรกเข้ามาตรงนี้ เป็นข้อที่ ๔ ในพร ๕ ประการ
โภคะ คือ ทรัพย์สมบัติ ทรัพย์สมบัติเรามีไว้ทำไม ก็เพื่อใช้สอย แต่ทางพระท่านบอกว่า โภคะ หรือทรัพย์สมบัติทางจิตใจ ได้แก่ คุณธรรมคือ พรหมวิหาร ๔
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นี้แหละ เป็นทรัพย์สมบัติที่อยู่กับตัว ที่ใช้ไม่รู้จักหมด
เมตตา มีไมตรีจิตมิตรภาพกับคนทั่วไป เจอใครทักทาย ยิ้มแย้มแจ่มใส รักใคร่ปรารถนาดีต่อทุก ๆ คน
กรุณา เห็นใครตกทุกข์ได้ยาก ช่วยเหลือเขาไป
มุทิตา เห็นใครดี ประสบผลสำเร็จ มีความเจริญก้าวหน้า ก็โมทนา ส่งเสริมไป
อุเบกขา มีเรื่องมีราวทะเลาะเบาะแว้งกัน เราวางใจเป็นธรรม ให้ความเป็นธรรม วางใจเป็นกลาง ใช้ปัญญาฝึกให้ตนรู้จักรับผิดชอบ
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นี้เป็นทรัพย์ที่เราสร้างไว้กับตัว เป็นโภคะที่มองไม่เห็น ใช้ไม่รู้จักหมด
บางทีของบางอย่างซื้อด้วยเงินไม่ได้ แต่ใช้เมตตา ก็สำเร็จได้มาเองเลย บางทีเขาก็ขนเอามาให้ ไม่ต้องขอไม่ต้องบอก บริการเต็มที่ และใช้ได้กับสิ่งที่ทรัพย์สินเงินทองซื้อไม่ได้ด้วย จึงเป็นทรัพย์สมบัติที่มีลักษณะพิเศษคือ
๑. ใช้ไม่หมด
๒. ซื้อสิ่งที่ซื้อด้วยเงินไม่ได้
ฉะนั้น โภคะคือพรหมวิหารนี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรจะสร้างขึ้นมา ถ้าเราทำได้ก็เป็นโภคะอันประเสริฐ
ต่อไปพรข้อสุดท้ายคือ “ พละ ” ได้แก่ กำลัง ตามความหมายนี้เราจะนึกถึงว่ากำลังกายก็ตาม กำลังใจก็ตามท่านว่าใช่ทั้งนั้น
ท่านมีหมวดธรรมให้ตั้งเยอะ พละ ๕ ที่พูดถึงกันอยู่เสมอในวงการของนักปฏิบัติธรรมคือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ก็เป็นกำลังทางจิตใจ แต่เราไม่มีเวลาพูดมากพอ เพราะฉะนั้น เรามาเอากำลังขั้นสุดยอดกันเลย กำลังขั้นสุดยอดนี้ ก็คือ อิสรภาพ
ทำไมพระพุทธเจ้าว่าอย่างนั้น อิสรภาพเป็นกำลังได้อย่างไร ขอให้พิจารณาดู
คนจะมีกำลังเท่าไรก็ตาม ร่างกายจะเข้มแข็งเท่าไรก็ตาม แต่ถ้าร่างกายนั้นถูกมัดเสีย จะเป็นอย่างไร ตอบได้เลยว่าไม่มีความหมาย กำลังมากมายไม่มีความหมาย ทำอะไรไม่ได้
ในทางตรงข้าม คนมีกำลังน้อยก็ตาม มากก็ตาม ถ้าร่างกายเป็นอิสระ ไม่ถูกจับมัด เขามีกำลังเท่าใดก็ใช้ได้เต็มที่เท่านั้น ใช่หรือเปล่า ฉะนั้นความเป็นอิสระจึงเป็นกำลังที่สำคัญที่สุด
ที่พูดมานั้นเป็นเรื่องของอิสรภาพ หรือความเป็นอิสระทางกาย แต่ยังมีอีกด้านหนึ่ง คืออิสรภาพ หรือความเป็นอิสระทางจิตใจ ซึ่งสำคัญยิ่งกว่าอิสรภาพทางกาย
ความเป็นอิสระของจิตใจ มีลักษณะที่สำคัญ ๒ อย่าง คือ
• ไม่ถูกอะไรครอบงำ หรือคอยบังคับชักจูงให้ถดถอยหรือใช้กำลังหันเหไปในทางอื่น
• ไม่ถูกสิ่งใดผูกมัด มีกำลังเท่าไรก็ใช้ได้เต็มที่
ขอขยายความเพียงนิดหน่อย
• จิตใจนั้นไม่ถูกกิเลสครอบงำ หรือไม่อยู่ใต้อำนาจบังคับของกิเลส จะพูดว่าไม่เป็นทาสของกิเลสก็ได้
กิเลสที่จะมาครอบงำใจนั้นมีมากมาย พูดง่าย ๆ ก็อย่างโลภะ โทสะ โมหะ หรือความโลภ โกรธ หลง
จะทำอะไรก็ตาม ถ้ามัวแต่คำนึงถึงลาภสักการะ หรือถูกความโกรธแค้น ความพยาบาท ความน้อยใจเข้าครอบงำก็เสียกำลัง ทำอะไรไม่ได้เต็มที่ อย่างง่าย ๆ ถูกความกลัวคุกคามบ้าง ถูกความเกียจคร้านหน่วงเหนี่ยวไว้บ้าง ก็สูญเสียกำลัง ทำอะไรไม่ได้เต็มที่
เพราะฉะนั้น ความเป็นอิสระในการที่จิตใจไม่ถูกกิเลสครอบงำ จึงเป็นกำลังที่เข้มแข็งอย่างยิ่ง
• จิตใจมีกำลังเท่าใดใช้ได้เต็มที่ เพราะไม่มีอะไรผูกมัดไว้ การจะทำอะไรต่าง ๆ ไม่ว่าจะทำความดีก็ตามจะทำการงานก็ตาม ถ้าไม่มีห่วงกังวลอะไรเข้ามาผูกมัดใจ เราก็ทำได้เต็มที่
แต่ทั้ง ๆ ที่เรามีกำลังกายเข้มแข็ง ถ้าใจเราถูกผูกมัดเสีย เช่นมีห่วงมีกังวล มีอะไรต่าง ๆ หน่วงเหนี่ยวหรือผูกมัดใจอยู่ ก็ทำไม่ได้ ไม่สามารถจะทำสิ่งนั้นได้เต็มที่
ในทางตรงข้าม ถ้าไม่ถูกผูกมัด เป็นอิสระแล้ว ก็จะทำสิ่งนั้นได้เต็มที่ ฉะนั้นความเป็นอิสระจึงสำคัญมาก
ความเป็นอิสระนี้มีหลายขั้น ในทางพระมีศัพท์เรียกสั้น ๆ ว่า วิมุตติ แปลว่า ความหลุดพ้น หรือจะแปลว่าการปลดปล่อยก็ได้ คือปลดปล่อยจิตใจให้พ้น เป็นอิสระไปจากกิเลสที่ครอบงำ และสิ่งที่ผูกมัดหน่วงเหนี่ยวทั้งหลายตลอดจนพ้นจากอวิชชา คือความไม่รู้
อิสรภาพหรือวิมุตติที่มีหลายขั้นนั้น พูดมาเท่านี้ก็มากแล้ว ควรจะพอก่อน
ความสุขที่ส่งให้ได้จริง คืออย่างไร
ฉะนั้น อายุ วรรณะ สุขะ โภคะ พละ ก็ตีความออกมาเป็นธรรมอย่างที่ว่ามานี้
อายุ พลังสืบต่อชีวิต คืออิทธิบาท ๔
วรรณะ ความงาม คือศีล
สุขะ ความสุข คือสภาพจิตใจที่ดีงาม ตั้งแต่ปราโมทย์จนถึงฌาน ๔
โภคะ ทรัพย์สมบัติ คือ พรหมวิหาร ๔
พละ กำลัง คือความเป็นอิสระ ที่ทางพระเรียกว่า วิมุตติ
นี้คือพรปีใหม่ ถ้าทำได้ เราก็ทำให้แก่ตัวเอง ถึงพระไม่ได้บอก โยมก็ทำได้เอง
ฉะนั้น การมาพูดเรื่องพรปีใหม่วันนี้ ที่จริงก็ไม่ต้องมาอวยพร เพราะหวังว่าทุกท่านคงทำพรขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าพรจะเป็นอย่างนั้นก็จริง แต่เราก็สามารถให้กันได้ ด้วยการที่ตั้งใจปรารถนาดีต่อกัน มีไมตรีจิตมิตรภาพ
นอกจากนั้น การที่ผู้หนึ่งตั้งใจให้พรขึ้นมา ก็เป็นจุดเริ่มกระตุ้นใจให้ฝ่ายผู้รับทำการอธิษฐานจิตที่จะทำสิ่งดีงามต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น อันเป็นพลังเริ่มต้นที่จะนำไปสู่ความสำเร็จอย่างที่ได้อธิบายมาแล้ว
ในโอกาสขึ้นปีใหม่นี้ เรานิยมส่งความสุข ก่อนที่เราจะส่งความสุขให้ผู้อื่น เราเองก็ต้องมีความสุขอยู่ที่ตัวเราก่อน ปัญหาว่าเรามีความสุขที่จะส่งให้หรือเปล่า ใจเรามีความสุขไหม บางทีเราก็ส่งกันเป็นธรรมเนียมเท่านั้น
ถ้าส่งความสุขกันเพียงตามธรรมเนียม เราก็ไม่มีความสุขจะส่ง เพราะฉะนั้น คนที่รับก็เลยไม่ได้ความสุข เพราะคนส่งไม่มีความสุขที่จะให้ เราจึงจะต้องทำใจของเราให้มีความสุขเสียก่อน
การตั้งใจปรารถนาดีต่อผู้อื่น มีเมตตาและไมตรีธรรม ก็ทำใจให้เป็นสุข ถ้าทำได้อย่างนี้แล้ว เราก็จะมีความสุขที่จะให้แก่ผู้อื่น
ยิ่งกว่านั้น ถ้าทำได้จริงตามความหมายทางธรรมที่ได้อธิบายมาแล้ว ก็จะเป็นพรปีใหม่ที่แท้จริง ซึ่งมีผลต่อชีวิตและสังคมอย่างเป็นเนื้อหาสาระแน่นอน และไม่ใช่เป็นเพียงพรปีใหม่ สำหรับเวลาที่ผ่านปีเก่าไปนี้เท่านั้น แต่จะเป็นพรตลอดกาลทีเดียว คือเป็นพรทั้งตลอดปี และตลอดไป
ฉะนั้น โอกาสนี้ อาตมาก็ขอตั้งใจด้วยเมตตาและไมตรีธรรม ปรารถนาดีต่อทุกท่าน
ในโอกาสปีใหม่ อันนิยมถือกันในโลกว่าเป็นมงคลนี้ ก็ขอตั้งจิตประกอบด้วยเมตตาและไมตรีธรรมนั้น อ้างอิงอานุภาพคุณพระรัตนตรัย อวยชัยให้พร
รตนตฺตยานุภาเวน รตนตฺตยเตชสา ด้วยอานุภาพคุณพระรัตนตรัย พร้อมทั้งบุญกุศล ศรัทธาและไมตรีจิตของท่านทั้งหลายที่มีอยู่ในใจ อันประกอบด้วยเจตนาที่ดีเป็นบุญกุศลนั้น จงเป็นปัจจัยอภิบาลรักษาให้ทุกท่านเจริญด้วยพรทั้ง ๕ ประการ
เมื่อแพะกลายเป็นสุนัข
“ในการรับสาร ไม่ว่าจะฟังหรืออ่าน
ผู้รับสารต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่า ข้อความที่ฟังหรืออ่านนั้น
สมเหตุสมผลหรือไม่
เมื่อมีผู้โน้มน้าวหรือชักชวนให้ทำสิ่งใดหรือไม่ให้ทำสิ่งใด
จะต้องรู้จักวิธีหลีกเลี่ยงปฏิเสธ
เมื่อพบว่าการโน้มน้าวใจนั้นไม่ถูกต้อง”
เมื่อแพะกลายเป็นสุนัข
ใจหนึ่งก็อยากจะซื้อ ใจหนึ่งก็เสียดายเงิน คำรำพึงของใครคนหนึ่ง
ขณะที่เดินดูสินค้าอาจทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าคนเรานั้นมีสองใจ แท้ที่จริงใจ ในที่นี้คือความคิด คนเราคิดได้หลายอย่าง ถึงได้มีสำนวนว่า หลายใจ ขึ้นมา คนที่เปลี่ยนใจคือคนที่เปลี่ยนความคิด ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหาย ถ้าเปลี่ยนแล้วดีขึ้น แต่ถ้าเปลี่ยนบ่อยๆจนไม่อยู่กับร่องกับรอย ก็คงไม่มีทางรู้ว่าเปลี่ยนแล้วจะดีหรือไม่ดี กลายเป็นคน ใจโลเล เหมือนไม้หลักปักเลนเอนไปมา คนที่เชื่อคนอื่นง่ายๆ โดยไม่ยั้งคิด ท่านว่าเป็นคน ใจเบา ราวกับ พกนุ่น ถ้าเชื่อง่าย ยินยอมง่ายๆ ให้เขาหลอกไปในทางมิดีมิร้าย คงต้องเรียกว่า ใจง่าย ส่วนคนที่ไม่เชื่อใครง่ายๆ ท่านว่าเป็นคน ใจหนักแน่นเหมือน พกหิน ทีเดียว
แต่ก็ยังไม่แน่นัก ถึงจะใจหนักแน่นเหมือนดังที่หม่อมเจ้าอิศรญาณทรงนิพนธ์ไว้ในสุภาษิตอิศรญาณ ว่า อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก แต่วรรคต่อมาท่านว่า ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว สิ่งที่ผลักมานั้น ก็คือสิ่งที่เร้าหรือโน้มน้าวใจให้เห็นประโยชน์ที่น่าจะได้รับ ถ้าได้ยินหนึ่งครั้งสองครั้งก็ยังมี ใจหนักแน่น อยู่ได้แต่ถ้ามากรอกหูซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็คงไหวไปมาแรงชักจูง การโฆษณาสินค้า ที่เซ้าซี้เราอยู่ทุกวันนี้ก็ใช่หลักเดียวกันมนุษย์มีความต้องการขั้นพื้นฐานที่ผลักดันให้คิด เชื่อ และทำสิ่งต่างๆ
ตามความต้องการความหิวผลักดันให้มนุษย์ออกไปแสวงหาอาหาร ความต้องการอยู่เป็นหมู่คณะผลักดันให้มนุษย์ทำตัวให้เหมือนคนอื่นๆ เป็นต้น คำชักชวนด้วยการโน้มน้าวใจ ว่าถ้าทำเช่นนั้นเช่นนี้แล้ว จะได้ประโยชน์หรือไม่เสียประโยชน์จึงกระทบใจมนุษย์ได้ดี
ชายหกคนในนิทานเรื่อง หนึ่งในปัญจตันตระเห็นทีจะรู้หลักนี้ดี จึงโน้มน้าวใจพราหมณ์ผู้หนึ่งหลงเชื่อว่ากำลังแบกสุนัข นิทานเล่าว่าพราหมณ์จะทำพิธีบูชายัญจึงไปหาซื้อแพะมาตัวหนึ่ง ขณะที่แบกแพะกลับบ้าน ชายหกคนเห็นเข้าก็คิดจะหลอกเอาแพะจากพราหมณ์ คนแรกยืนดักหน้าพราหมณ์แล้วทักว่าจะแบกสุนัขไปไหนพราหมณ์นึกขันตอบว่า สุนัขที่ไหนกัน แพะแท้ๆ เดินต่อไปอีกไม่กี่ก้าว ชายคนที่สองก็เข้ามาทักด้วยคำถามคล้ายๆกัน พราหมณ์ไม่ขัน และยังตอบเหมือนเดิม ไปอีกหน่อยพบชายคนที่สาม ถามอีกแล้ว คราวนี้พราหมณ์ชักลังเลวางแพะลงดูให้แน่อีกที ครั้นเห็นว่ายังเป็นแพะตัวเดิมที่ซื้อมา ก็แบกขึ้นบ่าเดินต่อไป สักพักชายคนที่สี่เดินเข้ามาหาถามว่า จะเอาสุนัขไปทำอะไร พราหมณ์ตอบว่านี่มันแพะนะจะเอาไปบูชายัญ ชายคนนั้นหัวเราะ แล้วยืนยันว่าเห็นๆอยู่ ว่าเป็นสุนัขแท้ๆ พราหมณ์ไม่ค่อยสบายใจเดินต่อมาพบชายคนที่ห้า และต่อมาอีกก็พบชายคนที่หกทักถามเหมือนกันอีกแล้ว หรือว่าแพะตัวนี้จะเป็นปีศาจ ถึงได้กลายร่างเป็นสุนัขให้ใครเห็นได้ ถ้าเราขืนแบกมันต่อไป กว่าจะถึงบ้าน มันก็คงแผลงฤทธิ์ทำร้ายเราแน่ๆคิดแล้วพราหมณ์ก็โยนแพะทิ้งแล้ววิ่งตัวเปล่ากลับบ้าน ชายทั้งหกคนจึงจับแพะไปเชือดกินกันวิธีการของชายทั้งหกคน คือโน้มน้าวใจพราหมณ์ให้เปลี่ยนความคิดและเปลี่ยนการกระทำ คือคิดว่าสิ่งที่แบกมาไมใช่แพะ และเลิกแบกต่อไป แต่เป็นการโน้มน้าวใจที่แฝงเจตนาไม่ดี ชักจูงให้เขาทำเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว จึงเป็นการชักจูงทำนองเดียวกับการโฆษณาชวนเชื่อ คนที่จะตกเป็นเหยื่อของการโน้มน้าวใจในลักษณะนี้ได้ง่ายๆก็คือ "คนที่ขาดวิจารณญาณ" หลักความเชื่อในกาลามสูตรจึงสอนไว้ข้อหนึ่งว่า "อย่าถือโดยตรึกตามอาการ"ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายไว้ว่า หมายถึง"การได้ฟังเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผู้ใดผู้หนึ่งพูดแล้ว ยังไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร แต่คิดเห็นว่า ถ้าเราถืออย่างนี้จะดีกว่า แล้วเชื่อถือตามความคิดเห็นนั้น อย่างนี้เรียกว่า ถือโดยตรึกตามอาการ"
ข้อคิดจากเรื่อง
เรื่อง เมื่อแพะกลายเป็นสุนัข เป็นนิทานที่นำมาจากนิทานวานบอก เล่มที่1 ของศาสตราจารย์ ดร.กุสุมา รักษมณี เป็นเรื่องที่ผู้เขียนยกมาจากนิทานปัญจตันตระเพื่อเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์มักเชื่อและทำตามคำชักชวนโน้มน้าวใจ ยิ่งถ้าถูกโน้มน้าวใจซ้ำๆ ก็ยิ่งเชื่อ ดังเช่นพราหมณ์ผู้กำลังแบกแพะไปบูชายัญ เมื่อถูกชาย 6 คนที่ประสงค์จะหลอกเอาแพะจากพรามณ์ทักซ้ำๆ กันว่าแพะเป็นสุนัข พรามณ์ก็เชื่อและคิดไปว่า แพะนั้นคงเป็นปีศาจจึงกลายร่างเป็นสุนัขห้ชาย 6 คนนั้นเห็น และปีศาจแพะอาจทำร้ายตนความรักตนเองเป็นธรรมชาติของมนุษย์ทำให้พราหมณ์โยนแพะทิ้ง ชาย 6 คนจึงหรอกเอาแพะได้สำเร็จ
ความรู้เรื่องนิทานปัญจตันตระ
พบกับ "นิทานปัญจตันตระ" นิทานเก่าแก่ล้ำค่าของอินเดีย 5 เล่ม ที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อเป็นอุบายสอนเจ้าชาย 3 พระองค์ที่ไม่สนใจการเรียนหนังสือตามวิธีปกติ ให้ได้รู้เรื่องที่พระราชาในอนาคตควรจะรู้ โดยนำมาผูกร้อยเป็นนิทานสนุกสนานและสอดแทรกคำสอนการปฏิบัติที่ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย อันเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้นิทานชุดนี้ ถูกนำมาถ่ายทอดต่อๆ กันไปทั่วโลกเป็นเวลาร่วม 2000 ปีมาแล้ว โดยในเล่มนี้ผู้เขียนได้ถ่ายทอดด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ซึ่งมีการเล่าเรื่องที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง พร้อมทั้งภาพประกอ[สวยงาม ที่ควรค่าแก่การอ่านและการเก็บรักษาเป็นอย่างยิ่ง
กลวิธีในการโน้นน้าวใจ
การ โน้มน้าวใจ คือการพยามยามเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และการกระทำของบุคคลอื่นโดยใช้กลวิธีที่เหมาะสมให้มีผลกระทบใจบุคคลนั้นทั้ง โดย วัจนภาษาคือ คำพูด ถ้อยคำ และอวัจนภาษา คือกริยาท่าทางต่างๆ จนเกิดการยอมรับ
1.แสดงให้เห็นความน่าเชื่อถือของผู้โน้นน้าวใจ
บุคลิกภาพหรือชื่อเสียงของผู้พูดเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้การโน้มน้าวใจสัมฤทธิผล
2.แสดงให้เห็นถึงความหนักแน่นของเหตุผล
การแสดงเหตุผลเป็นส่วนหนึ่งในการจูงใจ ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจ ทำให้เกิดความเชื่อถือและคล้อยตามได้ การให้เหตุผลจะต้องสมเหตุสมผล
3.แสดงให้ประจักษ์ถึงความรู้สึกอารมณ์ร่วมกัน
บุคคลที่มีความรู้สึกหรือมีอารมณ์ร่วมกัน เป็นแรงผลักดันสำคัญของมนุษย์ที่จะนำไปสู่เป้าหมายหรือประสบผลสำเร็จร่วมกัน
4.แสดงให้เห็นด้านดีและด้านเสีย
5.สร้างความหรรษาแก่ผู้รับสาร
การโน้มน้าวใจโดยการเสนอแนะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ฟัง ผู้อ่าน ใช้ความคิดก่อนที่จะเชื่อถือหรือกระทำตาม
6.เร้าให้เกดอารมณ์อย่างแรงกล้า
ภาษาเพื่อการโน้มน้าวใจ
ผู้โน้มน้าวใจควรใช้ภาษาที่มีน้ำเสียงในเชิงเสนอแนะ ขอร้อง วิงวอน เร้าใจ โดยคำนึงถึงจังหวะและความนุ่มนวลผู้พูดต้องหาวิธีโน้มน้าวใจคนฟังให้เอนเอียงมาฝ่ายตน ให้ผู้ฟังเกิดศรัทธา ไม่ควรใช้คำพูดและน้ำเสียงเด็ดขาด แข็งกระด้าง หรือกล่าวตรงไปตรงมาในเชิงตำหนิ ไม่ควรใช้น้ำเสียงในลักษณะของคำสั่งหรือการแสดงอำนาจซึ่งจะกระทบกระเทือนใจผู้รับสาร ทำให้การโน้มน้าวใจไม่บรรลุผลตามต้องการ
ตัวอย่างการใช้ภาษาเชิงเสนอแนะ
พวกเธอควรกินผลไม้และดื่มน้ำมากๆถ้าอยากให้ผิวพรรณผ่องใส
ตัวอย่างการใช้ภาษาเชิงขอร้อง
โรงเรียนของเรามีชื่อเสียงได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากนักเรียนถ้านักเรียนพยายามทำโครงงานวิทยาศาสตร์ครั้งนี้ใจดีจนชนะการประกวด โรงเรียนของเราก็จะได้ชื่อเสียงมากทีเดียว
ตัวอย่างการใช้ภาษาเชิงวิงวอน
ลูกชายของผมมีเลือด AB เน้กกะทีฟซึ่งเป็นเลือดหายากต้องผ่าตัดเอาเนื้องอกออกโดยด่วน แต่สภากาชาดมีเลือดกลุ่มนี้สำรองไว้ไม่พอ ขอท่านที่มีเลือดกลุ่มนี้ โปรดช่วยชีวิตลูกชายผมด้วย ผมมีลูกชายเพียงคนเดียว เขาเป็นลมหายใจของผมขอความกรุณาติดต่อโรงพยาบาลจุฬาฯ โดยด่วน หรือติดต่อผมโดยตรงที่หมายเลข 08 1118 8811
ตัวอย่างการใช้ภาษาเชิงเร้าใจ
ถ้าพวกเธอไม่ลงแข่งโต้วาทีครั้งนี้ คงไม่มีใครกล้าลงแข่งแทนหรอก กลัวว่าถ้าแพ้แล้วจะถูกประณาม ว่าไม่เก่งจริงแล้วยังจะไปแข่งอีก แต่ถ้าพวกเธอลงแข่ง เราเชื่อว่าต้องได้ชัยชนะกลับมาแน่ๆ
การใช้วิจารณญานในการรับสารโน้มน้าวใจ
1. การวิเคราะห์ผู้อ่าน ผู้เขียนจะต้องวิเคราะห์ผู้อ่านว่า มีลักษณะอย่างไร เช่น เพศ วัย การศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ฐานะทางสังคม และค่านิยม เป็นต้น การวิเคราะห์ผู้อ่านจะช่วย ให้ผู้เขียนสามารถกำหนด เนื้อหาและกลวิธีการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
2. การใช้หลักจิตวิทยา ผู้เขียนจะต้องอาศัยหลักจิตวิทยาในการเขียนโน้มน้าวใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้เขียนต้องทำความเข้าใจธรรมชาติ ความสนใจ และความต้องการของผู้อ่าน ว่าน่าจะเป็น ไปในทิศทางใด แล้วจึงนำมาเป็นประโยชน์ในการเขียนโน้มน้าวใจต่อไป
กาลามสูตร
สาเหตุที่ทำให้พระพุทธเจ้าต้องสอนเรื่องกาลามสูตรนั้น ต้นตอไม่ได้แตกต่างจากสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในยุคนี้เลย นี่คือข้อความที่อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตรนิกาย (คัดลอกมาจากพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต)
ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าพร้อมสาวกกลุ่มใหญ่กำลังเสด็จผ่านไปยังแคว้นโกศล ผ่านไปยังนิคมของชาวกาลามะที่อยู่เมืองเกสปุตตะ ชาวเมืองกาลามะได้ยินกิตติศัพท์ของพระสมณโคดมมาก่อน[2] ว่าท่านเป็นพระอรหันต์ที่หลุดพ้นจากกิเลสแล้ว สามารถจำแนกธรรมสั่งสอนทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม และคำสอนของท่านก็ไพเราะทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ชาวกาลามะจึงเห็นสมควรที่จะเข้าไปกราบคารวะพระพุทธเจ้า นั่งอันที่ควรและตั้งคำถามต่อพระบรมศาสด
“พระเจ้าข้า มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม สมณพราหมณ์พวกนั้น พูดประกาศแต่เฉพาะวาทะของตัวเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม ถึงพราหมณ์พวกนั้น ก็พูดประกาศแต่เฉพาะวาทะของตนเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ยังมีความเคลือบแคลงสงสัยในสมณพราหมณ์เหล่านั้นอยู่ทีเดียวว่า ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครพูดจ คุณเห็นหรือไม่ว่า สิ่งที่ชาวกาลามะพูดนั้นเหมือนกับสิ่งที่กำลังทุกวันนี้ อย่างไรก็อย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าจึงตรัสตอบว่
“ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็ควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลงสงสัย และท่านทั้งหลายเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในฐานะที่ควรแล้ว มาเถิดท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
1. อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา
2. อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา
3. อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่าได้ยินอย่างนี้
4. อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา
5. อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง
6. อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน
7. อย่าได้ยึดถือโดยความตรึกตามอาการ
8. อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตัว
9. อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้
10. อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา
เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้วเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย
ที่จริงแล้ว คำสอนในกาลามสูตรมีความยาวพอสมควรทีเดียว เนื้อหาเป็น เหมือนกับการถามตอบระหว่างชาวกาลามะกับพระบรมศาสดา แต่ยุคนี้มักยกตัดตอนแต่เรื่องอย่าปลงใจเชื่อโน่นนี่ ๑๐ ข้อเท่านั้น และไม่ได้วิเคราะห์ให้ลึกซึ้งว่าคำสอนนี้ยังเหมาะกับยุคสมัยหรือไม่
เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า สิ่งใดเป็นอกุศล สิ่ง
ใดมีโทษ สิ่งใดวิญญูชนติเตียน สิ่งใดผู้ยึดถือปฏิบัติแล้ว จะ
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์เมื่อนั้นท่าน
พึงละเสีย เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า สิ่งใดเป็นกุศล
สิ่งใดไม่มีโทษ สิ่งใดวิญญูชนสรรเสริญ สิ่งใดผู้ยึดถือปฏิบัติ
แล้วจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
เมื่อนั้นท่านทั้งหลายพึงนับถือปฏิบัติบำเพ็ญ
หลักกาลามาสูตรทั้ง 10 ข้อดังกล่าว อธิบายเพื่อเป็นแนวทางดังนี้
1. อย่าเชื่อ เพราะได้ฟังตามกันมา ย่าเชื่อการได้ยินผู้ใดบอกเล่าเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีผู้บอกต่อๆกันมา
2. อย่าเชื่อถือ โดยลำดับสืบๆกันมา อย่านิยม ตามบรรพบุรุษของตน
3. อย่าเชื่อถือ โดยตื่นข่าวเล่าลือ อย่าเชื่อคนเป็นอันมาก เขาตื่นเต้นนับถืออะไรกัน ก็พลอยตื่นเต้นนับถือไปตามเขาบ้าง
4. อย่าเชื่อถือ โดยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ อย่าเชื่อตำรับตำราใดๆ ที่เขียนเรื่องราวอะไรไว้
5. อย่าเชื่อถือ โดยการกะหรือเก็งความจริงหรือนึกเดาเอาด้วยเหตุผลทางตรรก เมื่อได้ยินเขาพูดข้อความหรือเรื่องราวใดๆ แล้วนึกเอาในใจว่า คงจะเป็นอย่างนี้ๆแน่
6. อย่าเชื่อถือ โดยการอนุมานเอา หรือการคาดคะเน อย่าเชื่อถือเอาตามการคาดคะเน
7. อย่าเชื่อถือโดยตรึกตรองอาการ อย่าเชื่อการได้ฟังเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผู้ใดผู้หนึ่งพูดแล้วยังไม่ทราบว่าเป้นอย่างไร แต่คิดเห็นว่า ถ้าเราถืออย่างนี้จะดีกว่า
8. อย่าเชื่อถือโดยคิดว่าถูกต้องตรงกับลัทธิ ความเห็นของตน ลัทธิของตนเคยถือมาอย่างไรเมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งมาผู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งถูกต้องตรงกับลัทธิความเชื่อถือของตนดั้งเดิม ก็ชอบใจ พอใจ แล้วเชื่อตาม ถือตาม อย่างนี้เรียกว่า เชื่อถือเพราะเชื่อใจว่า ถูกกันลัทธิของตน
9. อย่าเชื่อถือ โดยเห็นว่า ผู้พูดควรเชื่อถือได้ การได้ฟังเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผู้ใดพูดแล้วเห็นว่า ท่านผู้พูดนี้ ท่านเป็นคนมีสติปัญญาทั้งได้เล่าเรียนศึกษามามาก
10. อย่าเชื่อถือ โดยคิดว่าสมณะผู้นี้ หรือครูคนนี้เป็นครู เป็นอาจารย์ของเรา เมื่ออุปัชฌาย์ก็ดี อาจารย์ก็ดี สั่งสอนเรา อบรมเรา โดยคิดว่าบุคคลผู้นี้เป็นครู-เป็นอาจารย์ของเรา
ดังนั้น กาลามสูตรจึงเป็นพระสูตรที่ให้อิสระในด้านความคิด แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้เราเชื่อ แต่ให้พิจารณาให้ดีเสียก่อน แล้วจึงค่อยเชื่อ อย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา แม้แต่พระคัมภีร์ก็อย่าเพิ่งเชื่อ ให้พิจารณา ดูเสียก่อน ถ้าทำได้อย่างนี้ ถือว่าสมกับการเป็นชาวพุทธ ไม่เชื่ออะไรอย่างไร้เหตุผล โดยไม่พิจารณาว่าควรเชื่อ หรือไม่เพียงไร
เราจึงควรภูมิใจที่เราได้นับถือพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาที่มีเหตุผล สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ ในโลกปัจจุบันไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น แต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น และเป็นไปเพื่อความ สิ้นทุกข์ในที่สุด แม้ทุกข์ยังไม่หมด แต่ก็มีความสงบสุขในชีวิตเพิ่มขึ้น เมื่อเราได้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามพุทธธรรม ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา
คิดตรอง ลองทำดู
๑. นำคำต่อไปนี้ไปเเต่งเป็นข้อควา้มหรือเรื่องราวที่เเสดงความหมายของคำนั้นให้ถูกต้องเเละชัดเจน
๑) ชักชวน ชักจูง ชวนเชื่อ เชิญชวน
๒) ใจง่าย ใจเบา หลายใจ สองใจ
๒. บอกความหมายของถ้อยคำเเละสำนวนต่อไปนี้ บอกด้วยว่าใช้ในกรณีใด เเล้วนำไปเเต่งเป็นประโยค
พกนุ้น พกหิน ไม้หลักปักเลน
อย่าถือโดยตรึกตามอาการ
อันเสาหินเเปดศอกตอกเป็นหลัก ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว
๓. ประโยคที่ว่า "ใจหนึ่งก็อยากจะซื้อ ใจหนึ่งก็เสียดายเงิน" ในเรื่องที่อ่านมี ความหมายที่ตรงกับสำนวนไทยว่าอย่างไร
๔. ร่วมกันพิจารณาว่าหากตนเป็นพราหมณ์เเละต้องพบกับชายเจ้าเล่ห์ทั้ง ๖ คนจะคิดเเก้ปัญหาอย่างไร
๕.เเบ่งกลุ่มเลือกหัวข้อต่อไปนี้ นำไปคิดหาวิธีโน้มน้าวใจ อาจเขียนส่งครูหรือนำไปพูดเสนอหน้าชั้นเรียน
๑) ใช้ของไทย ซื้อของไทย ชาติไทยเจริญ
๒) รักสิ่งใดไม่สำคัญเท่ารักชาติ
๓) หญิงไทยรักนวลสงวนตัว
๔) ผลประโยชน์ส่วนรวมต้องมาก่อนส่วนตัว
๕) เด็กไทยร่วมใจต้านยาเสพติด
๖) สุขภาพดี ไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง
๗) เด็กไทยลดหวาน รับประทานผัก รักออกกำลังกาย
เพิ่ม เสริมสาระ
1.แบ่งกลุ่มแข่งขันหาสำนวนที่มีคำว่า”ใจ” อยู่ด้วย กลุ่มใดหาได้มากกว่าเป็นผู้ชนะ และช่วยกันรวบรวมสำนวนที่ทุกกลุ่มเสนอพร้อมทั้งหาความหมายแล้วนำไปติดที่ป้ายนิเทศของห้องเรียนเพื่อให้เพื่อนๆ ได้เรียนรู้ร่วมกัน
2.แบ่งกลุ่มศึกษาความรู้ตามหัวข้อที่กำหนดจากนิทานอีสป นิทานชาดก นิทานพื้นบ้านที่มีคติสอนใจ จัดทำเป็นหนังสือ หนังสือการ์ตูน หรือบทความเวียนกันอ่าน
1)การผูกมิตร
2)การขาดความยั้งคิด
แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
จากบทเรียนภาษาไทย วิวิธภาษา เรื่องเมื่อแพะกลายเป็นสุนัข
JJJJJJ
คำสั่ง ให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. เรื่องเมื่อแพะกลายเป็นสุนัขเป็นนิทานที่นำมาจากนิทานอะไร
ก. นิทานวานบอก
ข. นิทานอีสป
ค. นิทานพื้นบ้าน
ง. นิทานอินเดีย
2. . เรื่องเมื่อแพะกลายเป็นสุนัขใครเป็นผู้แต่ง
ก. ผอ. สุพัฒน์
ข. กระทรวงศึกษาธิการ
ค. นายกยิ่งลักษ์
ง. ดร.กุสุมา
3. นิทานปํญจตันตระเป็นนิทานที่แต่งขึ้นมาแล้วกี่ปี
ก. 1500ปี
ข. 1222ปี
ค. 1588ปี
ง. 1485ปี
4. มีชายกี่คนที่หลอกเอาแพะจากพราหมณ์
ก. 5คน
ข. 3คน
ค. 6คน
ง. 4คน
5. วรรณนากาลามสูตรมีข้อห้ามกี่ข้อ
ก. 12ข้อ
ข. 10ข้อ
ค. 15ข้อ
ง. 13ข้อ
6. ใครเป็นคนนิพนธ์วรรณนากาลามสูตร
ก. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ข. พระเจ้าตากสินมหาราช
ค. พระพุทธเจ้า
ง. พระยาวชิยาน
7. ปุจฉา แปลว่าอะไร
ก. คำถาม
ข. คำตอบ
ค. ไม่มีข้อถูก
ง. ถูกทุกข้อ
8. พราหมณ์จะนำแพะไปทำอะไร
ก. ไปทำอาหาร
ข. ไปบูชายัญ
ค. ไปเลี้ยง
ง. ไปขาย
9. ภาษาโน้มน้าวใจต้องใช้ภาษาเชิงอะไร
ก. เชิงขอร้อง
ข. เชิงวิงวอน
ค. เชิงเร้าใจ
ง. ถูกทุกข้อ
10. “พวกเธอควรกินผลไม้และดื่มน้ำมากๆถ้าอยากให้ผิวพรรณผ่องใส” เป็นภาษาโน้มน้าวใจใน ข้อใด
ก. เชิงขอร้อง
ข. เชิงวิงวอน
ค. เชิงเร้าใจ
ง. เชิงเสนอแนะ
11. หม่อมเจ้าอิศรญาณทรงนิพนธ์สุภาษิตอิศรญาณตามข้อใด
ก. อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลักแต่ถ้าไปมาผลักเสายังไหว
ข. อันเสาใหญ่ตอกไว้ผลักไปมาเสายังไหว
ค. อันเสาเล็กตอกไว้ผลักไปมาเสายังไหว
ง. อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นผืนแต่ถ้าไปมาผลักเสายังไหว
12. นิทานวานบอกเป็นเล่มที่เท่าใดของดร.กุสุมา
ก. เล่มที่1
ข. เล่มที่2
ค. เล่มที่3
ง. เล่มที่4
13. วิสัชนา แปลว่าอะไร
ก. คำถาม
ข. คำตอบ
ค. ไม่มีข้อถูก
ง. ถูกทุกข้อ
14. นิทานปํญจตันตระเป็นนิทานที่แต่งขึ้นมาแล้วกี่ภาษา
ก. 40ภาษา
ข. 50ภาษา
ค. 60ภาษา
ง. 70ภาษา
15. “ไม่ควรใช้สำหรับคนบางกลุ่ม” เป็นกลวิธีโน้มน้าวใจข้อใด
ก. ให้ข้อมูลแต่ด้านดี ไม่พูดถึงด้านเสีย
ข. แสดงให้เห็นทางเลือก
ค. แสดงเหตุผลที่หนักแน่น
ง. ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน
ขอขอบคุณ http://www.chittakhorn.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น